วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หนูนำโรค

หมัดหนู - หนู

 

 เตือนโรคร้าย หมัดหนูพาหะ รุนแรงถึงตาย (ไทยรัฐ)

          อธิบดีกรมการแพทย์เตือน หน้าฝน-หนาว ระวังโรค ริกเก็ตเซีย ระบาดหนักอาการรุนแรงถึงตายได้ ชี้มี หมัดหนู เป็นพาหะ เร่งทุกบ้านทำความสะอาด หวั่นคนไทยติดเชื้อ...
          นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า โรคติดเชื้อริกเก็ตเซียเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ สครับไทฟัส โดยไรอ่อนเป็นพาหะนำโรค และเชื้อมิวรีนไทฟัส มีหมัดหนูเป็นพาหะนำโรค โดยมีสัตว์ฟันแทะเป็นแหล่งรังโรคโดยเฉพาะหนูเป็นส่วนใหญ่ มักจะระบาดมากในช่วงฤดูฝนจนถึงต้นฤดูหนาว และพบแทบทุกภาคของประเทศ ดังนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์พิษณุโลก จึงได้ทำการศึกษาความเสี่ยงของการเกิดโรคและการเฝ้าระวังโรคทางห้องปฏิบัติ การ โดยการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อริกเก็ตเซียด้วยวิธี Indirect Immunofluorescence Assay (IFA) จากซีรั่มของผู้ป่วยที่ส่งมาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ตาก น่าน พิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และสุโขทัย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 - พฤษภาคม 2552 จำนวน 318 ราย 
         อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ผลการศึกษาพบผู้ติดเชื้อริกเก็ตเซีย 65 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.44 แยกเป็นสครับไทฟัส 56 ราย มิวรีนไทฟัส 7 ราย และพบติดเชื้อร่วมกันทั้งสครับไทฟัสและมิวรีนไทฟัส 2 ราย โดยจะพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง สำหรับอาการที่สำคัญ ได้แก่ ปวดศีรษะอย่างรุนแรงบริเวณขมับและหน้าผาก ตัวร้อนจัด มีไข้สูง 40-40.5 องศาเซลเซียส หนาวสั่น เพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดกระบอกตา มีอาการไอแห้งๆ ไต ตับ ม้ามโต และผู้ป่วยร้อยละ 30-40 จะพบแผลคล้ายบุหรี่จี้ (eschar) ที่บริเวณที่ถูกไรอ่อนกัด มีสีแดงคล้ำเป็นรอยบุ๋ม ไม่คัน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ โดยผู้ป่วยประมาณร้อยละ 20-50 อาจจะมีอาการแทรกซ้อน ได้แก่ การอักเสบที่ปอด สมอง ในรายที่อาการรุนแรง อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วมาก ความดันโลหิตต่ำ อาจถึงขั้นช็อก เสียชีวิตได้

          นพ.มานิต กล่าวด้วยว่า แนวทางในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวนั้นประชาชนควรหมั่นดูแลและทำความ สะอาดบ้านเรือนเพื่อควบคุมและ กำจัดหนู โดยเฉพาะนักเดินทางที่นิยมท่องเที่ยงธรรมชาติ หรือเด็กนักเรียนที่ทำกิจกรรมเข้าค่ายในป่า ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงโดยเฉพาะบริเวณทุ่งหญ้าชายป่า หรือบริเวณที่แสงแดดส่องไม่ถึง ซึ่งเป็นพื้นที่อาศัยของสัตว์พาหะหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรทายากันแมลงกัด หรืออาบน้ำให้สะอาดหลังออกจากป่า พร้อมนำเสื้อผ้าที่สวมใส่มาซักให้สะอาดทันที ทั้งนี้หากพบผู้ป่วยที่มีอาการน่าสงสัยว่าจะเกิดโรค เช่น มีไข้ขึ้นสูงปวดศรีษะ หลังจากกลับจากบริเวณพื้นที่เสี่ยงประมาณ 2 สัปดาห์ ควรรีบปรึกษาแพทย์ และเล่าประวัติการเข้าไปสัมผัสแหล่ง ก่อโรคโดยทันที เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ซึ่งจะช่วยลดอัตราความเสี่ยง และอันตรายจากโรคได้
หนูถูกระบุว่า เป็นพาหะนำโรค 5 โรค  ได้แก่
  1. กาฬโรค
  2. โรคเลปโตสไปโรซีส หรือ โรคฉี่หนู
  3. โรคสครับไทฟัส หรือไข้รากสาด
  4. โรคทูลารีเมีย หรือโรคไข้กระต่าย
  5. โรคพยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ปอด พยาธิตัวกลม
 กาฬโรค 


กาฬโรค (Plague) สาเหตุเนื่องมาจากเชื้อแบคทีเรียแกรมลบรูปแท่งชื่อ Yersinia pestis ผู้พบเชื้อครั้งแรกปี พ.ศ. 2437 โดย Yersin & Hitasato เดิมแบคทีเรียสปีชีส์นี้ จัดอยู่ในจีนัส Pasteurella ในปี พ.ศ. 2487 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Yersinia ตามชื่อผู้พบเชื้อคนแรกและปี พ.ศ. 2497 Thal ได้จัดรวมอยู่ในตระกูล Enterobacteriaceae 2 Yersinia มี 3 สปีชีส์ คือ Y.pestis , Y.enterocolitica และ Y.pseudotuberculosis.

        กาฬโรคเป็นโรคติดต่อที่มีอันตรายร้ายแรงที่สุด เมื่อมีการเกิดโรคนี้ต้องแจ้งความตามพระราชบัญญัติป้องกันโรคติดต่อ พ.ศ.2523 การติดต่อมาสู่คนโดยมีหมัดหนูเป็นพาหะโรค ซึ่งอาศัยอยู่บนหนูที่เป็นโรคโดยหมัดหนูจะกัดคนและปล่อยเชื้อเข้าทางรอยแผล เช่นเดียวกับการติดต่อระหว่างสัตว์กับสัตว์ ทำให้เกิดโรค bubonic plague และคนติดต่อมายังคน ทำให้เกิดโรค pneumonic plague ถ้าเชื้อนี้เข้ากระแสโลหิตจะทำให้เกิดโรค Septicaemic plague

ประวัติ ในอดีตมีการระบาดใหญ่ของกาฬโรคเกิดขึ้น 3 ครั้ง ครั้งแรกในคริสตวรรษที่ 6 เรียกการระบาดครั้งนั้นว่า Plague of justinian การระบาดเริ่มจากประเทศอียิปต์ไปสู่ทวีปยุโรป โดยเฉพาะที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล มีคนตายวันละหมื่นคน มีการระบาดติดต่อกันเป็นระยะเวลาประมาณ 50 ปี มีคนตายหลายล้านคน

       การระบาดครั้งที่ 2 ในคริสตวรรษที่ 14 เรียกการระบาดครั้งนั้นว่า The Black Death (กาฬมรณะ) โดยเริ่มต้นจากตอนใต้ของประเทศอินเดียและจีน ผ่านประเทศอียิปต์เข้าสู่ประเทศยุโรป มีการระบาดในอิตาลีเมื่อปี พ.ศ. 1889 เรียกว่า "Great Mortality" และมีการระบาดเป็นระยะตลอดคริสตวรรษที่ 15, 16, 17 ในปี พ.ศ. 2208 เกิดการระบาดใหญ่ที่กรุงลอนดอนมีคนตายเป็นจำนวน 60,000 คน จากประชากร 450,000 คน เรียกว่า The Great Plague of London การระบาดในยุโรป ครั้งนั้นมีประชากรประมาณ 25 ล้านคน ต้องตายด้วยโรคนี้

        การระบาดครั้งที่ 3 เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลกปี พ.ศ. 2439 มีการระบาดเข้าสู่สิงค์โปร์ ไทย ฟิลิปปินส์ ฮาไวอี อารเบีย เปอร์เชีย เตอร์กี อียิปต์ และอาฟริกาตะวันตกเข้ารัสเชียและในทวีปยุโรป เข้าสู่อเมริกาเหนือและเม็กซิโก มีรายงานระหว่างปี พ.ศ. 2443-2444 ในภาคตะวันออกของจีนมีคนตายประมาณ 60,000 คน ปี พ.ศ. 2453-2454 ที่แมนจูเลียมีคนตายประมาณ 10,000 คน ต่อมามีรายงานการระบาดที่รัฐแคลิฟอเนียและประเทศรัสเซีย

ประวัติการระบาดในประเทศไทย
     นายแพทย์ เอช แคมเบล ไฮเอ็ด เจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาล ( Principal Medical Officer of Bangkok City) ได้รายงานการกาฬโรคครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2447 เกิดขึ้นที่บริเวณตึกแดงและตึกขาว เป็นโกดังเก็บสินค้า จังหวัดธนบุรีเป็นที่อยู่ของพ่อค้าชาวอินเดีย แล้วระบาดเข้ามาฝั่งพระนครจากนั้นกระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ ที่มีการติดต่อค้าขายกับกรุงเทพฯ โดยทางบก ทางเรือและทางรถไฟ ไม่มีสถิติจำนวนผู้ป่วยตายที่แน่นอน รายงานปรากฏก่อนปี พ.ศ. 2456 ที่จังหวัดนครปฐมมีคนตาย 300 คน ครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2495 มีรายงานผู้ป่วย 2 รายตาย 1 ราย ที่ตลาดตาคลี จากนั้นไม่มีรายงานกาฬโรคเกิดขึ้นในประเทศไทยจนปัจจุบันนี้

สถานการณ์กาฬโรคในประเทศอินเดียปี พ.ศ. 2537
     ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 มีแผ่นดินไหวที่เมือง Latur และมีหลายพื้นที่ในรัฐมหาราษฎร์มีผู้เสียชีวิตหลายพันคน จากเหตุภัยพิบัติเชื่อว่าเป็นเหตุให้สัตว์ประเภทฟันแทะเข้ามาสู่เขตในเมือง ที่คนอาศัย ทำให้หนูในเขตบ้านติดเชื้อกาฬโรคจากหมัดหนูและติดต่อมายังคน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2537 มีรายงานผู้ป่วยกาฬโรครายแรกในรัฐมหาราษฏร์และระบาดไปตามรัฐต่างๆ จนถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2537 มีรายงานผู้สงสัยจะเป็นกาฬโรคในประเทศอินเดีย รวม 5,656 ราย ในจำนวนนี้มีผู้มีผลการตรวจยืนยันว่าเป็นผู้ป่วยกาฬโรค 258 ราย มีผู้เสียชีวิต 56 ราย รายงานผู้ป่วยและผู้สงสัยว่าป่วยส่วนใหญ่มาจาก 2 รัฐใหญ่ คิดรัฐกุจารัต 1,471 ราย และรัฐมหาราชตระ 2,685 ราย ส่วนในกรุงนิวเดลีมีผู้ป่วย หรือ ผู้สงสัยว่าป่วย 947 ราย ผู้ป่วยกาฬโรคส่วนใหญ่เป็นผู้มี ฐานะยากจนและอาศัยในท้องที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมเจ้าหน้าที่ของ องค์การอนามัยโลก วิเคราะห์ว่าปัญหาการระบาดของกาฬโรคในประเทศอินเดียและผลกระทบต่างๆ ที่ตามมา เป็นผลมาจากความล่าช้า ในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชนและสื่อมวลชน การขาดระบบการดำเนินการ และประสานงานการป้องกันกาฬโรคที่เป็นเอกภาพรวมทั้งขาดประสบการณ์ เกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรค เพราะประเทศอินเดียไม่มีรายงานผู้ป่วยกาฬโรคมามากกว่า 25 ปี นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจการค้าส่งออกของอินเดีย มูลค่ามหาศาลลดลงประมาณ 62,500 ล้านบาท มีสายการบินหลายสายงดการเดินทางเข้าออกจากอินเดีย สาเหตุที่ทำให้นานาชาติต่างเกรงกลัวกาฬโรคมากเพราะ โรคนี้เคยระบาดคร่าชีวิตประชาชนเป็นจำนวนมาก เมื่อกาฬโรคกลับมาระบาดอีกครั้งนานาชาติเกรงว่าเชื้อจะแพร่กระจายมายัง ประเทศของตน จึงใช้มาตรการเข้มงวดในการควบคุมการเดินทางและส่งสินค้าทั้งเข้าและออกจาก อินเดีย เพื่อเป็นการป้องกันเบื้องต้น

การติดต่อของโรค
     กาฬโรคเป็นโรคติดต่อที่มีสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู กระแต กระรอกและกระต่าย เป็นพาหะนำโรค สัตว์ที่พบมักเป็นโรคบ่อยได้แก่หนู ประเภท Rattus โดยมีหมัดเป็นพาหะมักเป็นพวก Xenopsylla cheopis ที่พบเกิดการระบาดในคนบ่อยๆ เชื้อสามารถอยู่ในตัวหมัดได้เป็นเดือนขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นและอุณหภูมิ ที่เหมาะสม เมื่อหมัดหนูดูดเลือดจากตัวหนู หรือสัตว์ฟันแทะอื่นๆ ที่มีเชื้อกาฬโรคอยู่ในตัวของสัตว์นั้น เมื่อหมัดหนูมากัดคนจะปล่อยเชื้อเข้าทางบาดแผล เช่นเดียวกับการติดต่อระหว่างสัตว์กับสัตว์ เชื้อเข้าทางผิวหนังที่ถลอกจากการเกาบริเวณที่ถูกหมัดหนูกัดการติดต่อ ระหว่างคนกับคนอาจเกิดได้โดยหมัดในคน (Pulax irritans) มากัดคนจะปล่อยเชื้อเข้าทางบาดแผล การติดต่ออีกทางหนึ่งโดยการหายใจเอาละอองเสมหะของผู้ป่วย pneumonic plague หรือจากสัตว์เลี้ยงที่มีเชื้อโรคเช่น แมว แล้วหายใจเอาเชื้อเข้าไปทางปาก จมูก เสมหะ ไอ จาม เป็นต้น การทำให้เกิดอาการในคนเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายและไปยังต่อมน้ำเหลืองทำให้ เกิดการอักเสบบวม ตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุดคือ บริเวณขาหนีบ (inguinal) รองลงมาคือรักแร้ ระยะฟักตัวของกาฬโรคโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 2-6 วัน ระยะฟักตัวของ primary plague pneumonia อยู่ระหว่าง 1-6 วัน อาการของโรคเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโตและปวดมากอาการนี้เรียกว่า bubonic plague ผิวหนังบริเวณต่อมน้ำเหลืองจะบวมแดง อาจจะมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ระยะต่อมาเชื้อจะแพร่กระจายไปตามกระแสโลหิต เข้าสู่ปอด ตับ ม้าม และบางรายไปยังเยื่อหุ้มสมอง เกิดภาวะเชื้อเข้ากระแสโลหิตรุนแรง (Septicaemic plague) จะเกิดอาการหัวใจวายและตายในที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว การติดต่อระหว่างคนกับคนโดยการไอ จาม ผู้ได้รับเชื้อ ทางระบบหายใจจะเกิดโรคปอดบวมเรียกว่า pneumonic plague จะพบเกิดโรคในกลุ่มประชากรที่อยู่กับแออัดในช่วงฤดูหนาว

การป้องกันและควบคุม
      สำรวจหนูที่อยู่อาศัยในบริเวณบ้านและกำจัดดังนี้ ควรกำจัดหนูก่อนโดยใช้สารเคมีประเภท carbamate โรยไว้ตรงทางเดินของหนูและจากนั้นในวันรุ่งขึ้น จึงทำการดักหนูและเบื่อหนู เมื่อดักหนูได้แล้วให้ฉีดยาฆ่าแมลงประจำบ้านฉีดพ่นไปบนตัวหนูก่อนเพื่อทำลาย หมัดหนูที่ยังคงเหลือและจากนั้นจึงฆ่าหนู การแพร่เชื้อระหว่างประเทศได้ 3 ทาง ทางอากาศ โดยผ่านทางสายการบินต่างๆ ทางบก โดยการเดินทางเข้าสู่ทางชายแดนของประเทศ และทางเรือโดยสาร คน หมัดหนู นำเชื้อโรคเข้ามากับการเดินทางนี้ ดังนั้นควรมีมาตรการควบคุม และเฝ้าระวังกาฬโรค เพื่อป้องกันการระบาดและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อกาฬโรคอย่างเคร่งครัด การกำจัดขยะมูลฝอยเป็นแหลังสะสมหนูและให้สุขศึกษาแก่ประชาชนเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อมิให้อาหารเป็นแหล่งเพาะพันธุ์หนู ในกลุ่มเสี่ยงควรให้ความรู้วิธีป้องกันโรคและเข้ารับการตรวจรักษาโดยเร็วถ้า มีอาการสงสัยว่าป่วยเป็นกาฬโรค
       การให้วัคซีนที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา เป็นชนิด inactivated plague vaccine U.S.P โดย Cutter Laboratories Burkeley California ในประเทศอื่นที่มีการผลิตบ้าง เช่น ประเทศสวิสเซอร์แลนด์และญี่ปุ่น ในช่วงของการระบาดในประเทศอินเดีย ปี พ.ศ. 2537 P.Michel และคณะ กำลังวิจัย ใช้ Yersinia Outer Protein (YOP) เพื่อผลวัคซีน

การรักษา
      ผู้ป่วยกาฬโรคต้องรักษาโดยแยกห้อง (isolation) เพื่อมิให้เชื้อแพร่กระจายเชื้อนี้ความไวต่อ Tetracyline, Streptomycin, Chloramphenical, Kanamycin และ Sulfonamides ส่วนยากลุ่ม Penicillin มักใช้ไม่ได้ผลดีและการรักษาโรคแทรกซ้อนมีความจำเป็น บุคลากรที่ทำการรักษาต้องมีความระมัดระวังอย่างเคร่งครัดด้านการป้องกันการติดเชื้อ โดยสวมถุงมือปิดปากและจมูกควรทำลายเชื้อจากเลือด น้ำเหลืองและหนองของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อ




 

หนูแกสบี้

 หนูแกสบี้

หนูแกสบี้




           สัตว์เลี้ยงฉบับกระเป๋าอย่างเจ้าหนูเควี่ หรือหนูแกสบี้ เป็นหนึ่งในพลพรรคหนูที่มีคนเลี้ยงจำนวนไม่น้อย ซึ่งแม้ว่าวิธีการเลี้ยงหนูแกสบี้ จะไม่ต่างจากหนูแฮมสเตอร์ และหนูเจอร์บิล แต่ แกสบี้ ก็มีความต้องการสารอาหารแตกต่างจากพวกนะจ๊ะ

           ทั้งนี้ หนูแกสบี้ จะมีความต้องการวิตามินซี หรือแอสคอบิค แอซิด มากกว่าเพื่อน(หนู) หรือมากถึง 25 มิลลิกรัม/ตัว/วัน เนื่อง จาก แกสบี้ ไม่สามารถสังเคราะห์หรือผลิตวิตามินซีขึ้นได้เองในร่างกาย ดังนั้น ผู้เลี้ยงจึงควรให้หนูแกสบี้ กินผักสีเขียว อันเป็นแหล่งวิตามินซีตามธรรมชาติ เช่น ฝรั่ง ฯลฯ

           นอกจากนี้ ยังมีวิธีเสริมวิตามินซีให้เจ้าแกสบี้ คือ

           1. การเลือกผสมวิตามินซีสังเคราะห์ที่เป็นผงหรือน้ำลงในอาหารและหรือน้ำดื่มให้ เจ้าแกสบี้ แต่ควรให้แกสบี้กินให้หมดภายใน 12 ชม. เพราะถ้าวิตามินซีจะสลายตัวเมื่อโดนแสง


           2. เควี่ฟลุต จะป้อนสดหรือว่าผสมน้ำก็ได้ค่ะ

           3. วิตามินซีแบบเม็ด หาซื้อได้ตามร้านขายยา(ของคน)ทั่วไป ราคาถูก โดยให้วันละครึ่งเม็ด แรก ๆ อาจต้องยัดหน่อย หลัง ๆ พอเขารู้รสแล้ว ก็จะขอกินเองเลยล่ะ

มาทำความรู้จักกัน กับ หนูแกสบี้ "
 
หนูแกสบี้เป็นสัตว์ที่สวยงาม และก็ยังเป็นสัตว์ที่ได้รับความนิยม อีกด้วย
ทั้งนี้ก็ อาจจะเป็นเพราะว่า สีต่างๆ และ สายพันธุ์ต่างๆที่มีความสวยงามซึ่ง หนูแกสบี้นั้นมี
สีหลากหลายสี และ สายพันธุ์ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ขนสั้น ขนยาว หรือ แม้กระทั่งขนหยิก
ซึ่งหนูแกสบี้ในแต่ละสายพันธุ์นั้นก็อาจจะมี วิธีการเลี้ยงบางอย่างที่แตกต่างกันออกไป
ผมเคยได้อ่านหนังสือแกสบี้อยู่เล่มหนึ่ง เขาได้บอกว่าหนูแกสบี้ นี้ที่จริงเขาไม่ได้เรียกกันว่าแกสบี้ครับ
เรียกกันว่าหนู เควี่ ( cavy ) หรือว่าหนูกินนี่พิก ครับ ส่วนชื่อแกสบี้เป็นชื่อที่คนไทยนั้นตั้งเองครับ ซึ่งหนูแกสบี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cavia porcellus
โดยส่วนมากแล้วหนูแกสบี้เป็นสัตว์ที่เชื่องครับ
จะมีหนูแกสบี้ส่วนน้อยที่มีนิสัยก้าวร้าว แต่นั้นก็ไม่ใช่ปัญหาเท่าใหร่ สิ่งต่างๆนั้นสามารถฝึกฝนกันได้ครับ
หนูแกสบี้ เป็นสัตว์ที่สามารถฝึกได้ครับ ไม่ว่าจะเป็น การเลี้ยงชื่อแล้ว เดินมาหา หรือ การฝึกให้มีการอึหรือถ่าย ในสถานที่ๆเราจัดเตรียมไว้ได้ครับ

หนูแกสบี้สามารถมีอายุขัยได้ยาวนาน 5 - 7 ปีทีเดียวครับ
แต่ทั้งนี่ก็ อยูที่ผู้เลี้ยงด้วยครับ ว่าได้เอาใจใส่ และดูแลทำควาสะอาด เขาได้ดี ซึ่งหนูแกสบี้ที่มีอายุมาก มักจะไม่ค่อยวิ่งเล่นเท่าใหร่
พฤติกรรมต่างๆของหนูแกสบี้ ที่แสดงออกมาบ่งบอกถึงสภาวะอารมณ์ ของเขาว่าเขารู้สึกอย่างไร
ไม่ว่าจะเป็นเสียงร้อง ต่างๆ ลักษณะท่าทางต่างๆที่แสดงออกมา ซึ่งถ้าเพื่อนๆเลี้ยงและเอาใจใส่เขาก็จะรู้ได้เลยว่า
สิ่งที่เขาทำนั้นเขาต้องการอะไรและเขารู้สึกอย่างไร 




 
วิธีการเลี้ยงหนูแฮมเตอร์

 

 
         
วิธีการเลี้ยงหนูแฮมเตอร์อาหาร หลักที่ควรให้แฮมสเตอร์ คือ ธัญพืชโดยจะโปรยอาหารลงบนพื้นก็ได้เพราะแฮมสเตอร์ไม่มีนิสัยชอบก้มกิน มันจะชอบหยิบอหารออกมากินนอกภาชนะมากกว่า โดยใช้เท้าหน้าจับอาหารกิน แต่การใช้ภาชนะมีข้อดี คือจะทำให้เราได้รู้ว่ามันเอาอาหารออกไปกิน มากน้อยแค่ไหน ถ้ามันป่วยเราก็รู้ได้ นอกจากนี้ การใส่ภาชนะยังทำให้อาหารและขี้เลื่อยไม่ปะปนกันทำให้การเปลื่ยนขี้เลื่อยทำ ได้ง่ายโ
ยไม่ต้องทิ้งอาหารที่ปนกับขี้เลื่อย
สิ่งที่ควรทราบในการให้อาหารแฮมสเตอร์

1. อย่าให้ผักสด หรือผลไม้สดบ่อยๆหรือมากเกินไป การให้ผักสดควรให้แค่สัปดาห์ละครั้งเพราะอาจจะทำให้แฮมสเตอร์ท้องอืด หรือท้องเสียได้และหากมันกินไม่หมดควรจะเก็บทิ้งทันที

2. พยายามอย่าเปลื่ยนอาหารแบบทันทีทันใด ควรจะค่อยๆ เปลื่ยนอาหารโดยเอาอาหารเก่า ผสมกับอาหารใหม่ และเพิ่มอัตราส่วนอาหารใหม่ให้มากขึ้นเรื่อยๆ จนแทนที่อาหารเก่าในที่สุด อย่าเปลื่ยนแบบฉับพลัน

3. อาหารที่ควรหลีกเลื่ยงช็อคโกแลต โดยเฉพาะ Dark Chocolate เพราะมีสาร Theobromine ซึ่งเป็นพิษต่อแฮมสเตอร์ได้

4. หลีกเลื่ยงผักผลไม้ ที่มีรสเปรี้ยวๆ เช่น มะนาว ส้ม สับปะรด เป็นต้น

5. เราอาจจะเสริมโปรตีนให้กับแฮมสเตอร์ได้ โดยการให้อาหารเม็ดของแมวหรืออาหารสุนัขที่เป็น บิสกิต ใส่ลงไปได้บ้างเล็กน้อย ซึ่งช่วยเสริมโปรตีนและยังช่วยลับฟันแฮมสเตอร์ไม่ให้ยาวเกินไปอีกด้วย

6. อาหารที่ไม่ปลอดภัยสำหรับแฮมสเตอร์ ได้แก่ หัวหอม มันฝรั่งดิบ กระเทียม น้ำอัดลม ลูกกวาด เป็นต้น

7. หลีกเลี่ยงอาหารที่แหลมคม หรือ เหนียวหนืด

8. ขนมหรืออาหารหวานๆเพราะแฮมสเตอร์แคระมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้

9. หลีกเลี่ยง อาหารเม็ดของกระต่าย เพราะบางชนิดใส่สารอาหารบางอย่างที่ช่วยกระตุ้น การเจริญเติบโตในกระต่าย แต่เป็นอันตรายต่อแฮมสเตอร์

10. หลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มีกลิ่นฉุน เช่น กระเพรา

อาหารเสริมอื่นๆ

ไข่

หนู แฮมสเตอร์ชอบกินไข่ต้มที่ต้มสุก และไข่ต้มยังมีโปรตีนสูงอีกด้วยโดยเฉพาะในแม่แฮมสเตอร์ที่กำลังตั้งครรภ์ แต่ไม่ใช่ว่าให้ตลอด นานๆ ให้ทีถ้ากินไม่หมดต้องเก็บออกให้หมด

น้ำมันตับปลา

น้ำมัน ตับปลาจะอุดมไปด้วยวิตามิน A และ D ใช้โดยการหยดเพียงไม่กี่หยดลงบนเมล็ดพืชก็ได้สามารถให้ได้เพียงสัปดาห์ละ ครั้ง อาจจะให้อาหารเม็ด สำหรับสุนัขที่มีส่วนผสมของน้ำมันตับปลาก็ได้

เนื้อ

เรื่อง การให้เนื้อเป็นอาหารแก่แฮมสเตอร์นั้น เป็นเรื่องที่ผู้เลี้ยงทั้งหลายต่อต้านกันมานาน เพราะเชื่อว่า อาหารประเภทเนื้อจะกระตุ้น ให้แฮมสเตอร์ดุร้าย แต่ก็มีรายงานจากผู้เลี้ยงหลายๆ คนซึ่งให้เนื้อเป็นอาหารเป็นประจำว่าไม่มีการก้าวร้าวผิดปรกติแต่อย่างใด โกยอาจจะให้เป็น เนื้อวัวชิ้นเล็กๆ หรืออาจจะให้อาหารสุนัขที่บรรจุกระป๋องก็ได้

นม

อาจจะให้ได้บ้าง โดยเฉพาะแม่หนูที่กำลังท้อง หรือ อาจจะให้เป็นนมอัดเม็ดก็ได้

อาหารนกผสม

สามารถจะให้อาหารเม็ด เช่น เมล็ดพืชสำหรับนกก็ได้โดยให้สัปดาห์ละครั้ง

การผสมพันธ์
แฮม สเตอร์เป็นสัตว์ที่มีอายุขัยสั้น มันจึงต้องแพร่พันธุ์เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ อย่าผสมข้ามพันธุ์แฮมสเตอร์หากท่านยังไม่พร้อม สำหรับชีวิตน้อน ๆ อีกหลาย ๆ ชีวิตที่กำลังจะเกิดขึ้นมา ท่านมีกรงให้พร้อมหรือไม่ท่านมีเวลาเพียงพอสำหรับมันหรือไม่

โปรดศึกษาแฮมสเตอร์ให้เข้าใจก่อนผสมพันธุ์ เพื่ิอให้ลูกที่เกิดออกมาแข็งแรงและไม่มีข้อบกพร่องทางพันธุ์กรรม

SYRAIN

Syrain เป็นแฮมสเตอร์ที่รักสันโดษ หากเราปล่อยให้ Syrainหลาย ๆ ตัวอยู่ด้วยกันมันมักจะกัดกัน ดังนั้นการจับคู่ Syrain เพื่อการผสมพันธุ์นั้น เราจำเป็นต้องระวังมาก ๆ

Syrain เพศเมีจะเป็นฮีทในทุกๆ 4 วัน ในการผสมพันธุ์ต้องเตรียมรังไว้ให้ก่อนโดยการใส่วัสดุปูพื้นใหม่ลงไป และหลังจากนั้นใส่วัสดุตัวผู้ลงไปก่อนและปล่อยให้ตัวผู้เดินไปมาและสร้าง กลิ่นก่อนสั
พักหลังจากนั้นจึงค่อยใส่ตัวเมียลงไป หากตัวเมียต่อต้าน ไม่ยอมรับการผสมพันธุ์โดยการจู่โจมหรือการเข้าทำร้ายตัวผู้ ให้รีบแยกตัวตัวเมียออกก่อนที่จะมีตัวใดได้รับบาดเจ็บ ทั้งนี้หากแฮมสเตอร์ตัวเมียไม่ได้เป็นฮีท มันก็อาจจะไม่ยอมรับการผสมจากตัวผู้และอาจจะทำร้ายตัวผู้ได้

หลังจาก นั้นอีก 2-3 วันให้ทดลองใหม่อีกครั้ง หากแฮมสเตอร์ตัวเมียเมื่อปล่อยลงไปแล้วยืนอยู่นิ่ง ๆ และเหยียดขาตรง ยกหางชี้ขึ้นแสดงว่าตัวเมียยอมรับการผสมพันธุ์ หลังจากนั้นปล่อยให้แฮมสเตอร์ผสมพันธุ์กันประมาณ 20 นาทีและแยกแฮมสเตอร์ออกจากกัน เพราะหากปล่อยตัวผู้ไว้กับตัวเมียนานเกินไป ตัวเมียอาจจะตัดสินใจกำจัด หรือทำร้ายตัวผู้ได้ หลังจากนั้น 16-18 วันหากผสมติด เราจะได้ลูกแฮมสเตอร์สีชมพูอยู่ในกรง

การเลือกซื้อหนู

ควร เลือกซื้อแฮมสเตอร์ในช่วงเวลาเย็น ๆ เพราะแฮมสเตอร์จะนอนในเวลากลางวันจะงัวเงีย ทำให้ดูยาก เวลาป่วยหรือไม แต่ถ้าเป็นช่วงเวลาตอนเย็น มันจะคึกคักทำให้ดราเลือกได้ง่ายกว่า และเปรียบเทียบได้ง่ายขึ้นระหว่างตัวที่ซึม เพราะป่วยและตัวที่ไม่ป่วย

เลี้ยงหลายตัวได้หรือไม่

อาจ จะเลี้ยงแฮมสเตอร์มากกว่า 1 ตัวในกรงเดียวกันได้ แต่ขึ้ยอยู่กับพันธุ์ของแฮมสเตอร์ด้วยถ้าเป็นแฮสเตอร์แคระแล้วหล่ะก็ มันเป็นสัตว์สังคมพอสมควรสามารถจะเลี้ยงด้วยกันได้หากเลี้ยงไว้ด้วยกัน ตั้งแต่เล็ก มักไม่ค่อยมีปัญหาทะเลาะกันแต่ไม่ควรเลี้ยงแฮมสเตอร์ต่างสายพันธุ์ไว้ด้วย กัน เพราะนิสัยจะแตต่างกันจะทำให้มัเครียดและอาจจะกัดกันจนตายได้ หรือเกิดปัญหาจาการผสมข้ามพันธุ์

อย่าใส่ถุงกระดาษกลับบ้าน ถ้าต้องการเดินทางนาน ๆ

เวลา ที่เราซื้อแล้ว ร้านขายสัตว์เลี้ยงอาจะเอาแฮมสเตอร์ใส่กล่องหรือถุงกระดาษนำกลับบ้่าน แต่ถ้าเราต้องใช้เวลาเดินทางนานแฮมสเตอร์อาจจะแทะทะลุถุงกระดาษออกมาและหลบ หนีได้ เราจะขอให้ผู้ขายเปลื่ยนจากถุงกระดาษมาใส่ภาชนะพลาสติกแทน

ควรจะเลือกแฮมสเตอร์ที่สุขภาพดี

แฮม สเตอร์ควรจะสะอาด ขนสะอาด ไม่มีอุจจาระเปื้อนหรือเหม็นผิดปรกติ และไม่ผอมผิดปรกติไม่ซึมไม่มีบาทแผลทั้งตัวและนิ้วเท้าหูต้องสะอาดท้งด้านใน และด้านน
ก ตาต้องสดใสและสะอาด

ควรจะเลือกแฮมสเตอร์ที่อายุระหว่าง 4-7 สัปดาห์

เพราะเชื่องง่ายถ้าเราเลี้ยงตั้งแต่เล็ก ๆ เพศไหนก็ได้ นิสัยไม่แตกต่างกันมาก