หมัดหนู - หนู
เตือนโรคร้าย หมัดหนูพาหะ รุนแรงถึงตาย (ไทยรัฐ)
อธิบดีกรมการแพทย์เตือน หน้าฝน-หนาว ระวังโรค ริกเก็ตเซีย ระบาดหนักอาการรุนแรงถึงตายได้ ชี้มี หมัดหนู เป็นพาหะ เร่งทุกบ้านทำความสะอาด หวั่นคนไทยติดเชื้อ...
นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า โรคติดเชื้อริกเก็ตเซียเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ สครับไทฟัส โดยไรอ่อนเป็นพาหะนำโรค และเชื้อมิวรีนไทฟัส มีหมัดหนูเป็นพาหะนำโรค โดยมีสัตว์ฟันแทะเป็นแหล่งรังโรคโดยเฉพาะหนูเป็นส่วนใหญ่ มักจะระบาดมากในช่วงฤดูฝนจนถึงต้นฤดูหนาว และพบแทบทุกภาคของประเทศ ดังนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์พิษณุโลก จึงได้ทำการศึกษาความเสี่ยงของการเกิดโรคและการเฝ้าระวังโรคทางห้องปฏิบัติ การ โดยการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อริกเก็ตเซียด้วยวิธี Indirect Immunofluorescence Assay (IFA) จากซีรั่มของผู้ป่วยที่ส่งมาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ตาก น่าน พิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และสุโขทัย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 - พฤษภาคม 2552 จำนวน 318 ราย
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ผลการศึกษาพบผู้ติดเชื้อริกเก็ตเซีย 65 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.44 แยกเป็นสครับไทฟัส 56 ราย มิวรีนไทฟัส 7 ราย และพบติดเชื้อร่วมกันทั้งสครับไทฟัสและมิวรีนไทฟัส 2 ราย โดยจะพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง สำหรับอาการที่สำคัญ ได้แก่ ปวดศีรษะอย่างรุนแรงบริเวณขมับและหน้าผาก ตัวร้อนจัด มีไข้สูง 40-40.5 องศาเซลเซียส หนาวสั่น เพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดกระบอกตา มีอาการไอแห้งๆ ไต ตับ ม้ามโต และผู้ป่วยร้อยละ 30-40 จะพบแผลคล้ายบุหรี่จี้ (eschar) ที่บริเวณที่ถูกไรอ่อนกัด มีสีแดงคล้ำเป็นรอยบุ๋ม ไม่คัน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ โดยผู้ป่วยประมาณร้อยละ 20-50 อาจจะมีอาการแทรกซ้อน ได้แก่ การอักเสบที่ปอด สมอง ในรายที่อาการรุนแรง อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วมาก ความดันโลหิตต่ำ อาจถึงขั้นช็อก เสียชีวิตได้
นพ.มานิต กล่าวด้วยว่า แนวทางในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวนั้นประชาชนควรหมั่นดูแลและทำความ สะอาดบ้านเรือนเพื่อควบคุมและ กำจัดหนู โดยเฉพาะนักเดินทางที่นิยมท่องเที่ยงธรรมชาติ หรือเด็กนักเรียนที่ทำกิจกรรมเข้าค่ายในป่า ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงโดยเฉพาะบริเวณทุ่งหญ้าชายป่า หรือบริเวณที่แสงแดดส่องไม่ถึง ซึ่งเป็นพื้นที่อาศัยของสัตว์พาหะหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรทายากันแมลงกัด หรืออาบน้ำให้สะอาดหลังออกจากป่า พร้อมนำเสื้อผ้าที่สวมใส่มาซักให้สะอาดทันที ทั้งนี้หากพบผู้ป่วยที่มีอาการน่าสงสัยว่าจะเกิดโรค เช่น มีไข้ขึ้นสูงปวดศรีษะ หลังจากกลับจากบริเวณพื้นที่เสี่ยงประมาณ 2 สัปดาห์ ควรรีบปรึกษาแพทย์ และเล่าประวัติการเข้าไปสัมผัสแหล่ง ก่อโรคโดยทันที เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ซึ่งจะช่วยลดอัตราความเสี่ยง และอันตรายจากโรคได้
หนูถูกระบุว่า เป็นพาหะนำโรค 5 โรค ได้แก่อธิบดีกรมการแพทย์เตือน หน้าฝน-หนาว ระวังโรค ริกเก็ตเซีย ระบาดหนักอาการรุนแรงถึงตายได้ ชี้มี หมัดหนู เป็นพาหะ เร่งทุกบ้านทำความสะอาด หวั่นคนไทยติดเชื้อ...
นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า โรคติดเชื้อริกเก็ตเซียเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ สครับไทฟัส โดยไรอ่อนเป็นพาหะนำโรค และเชื้อมิวรีนไทฟัส มีหมัดหนูเป็นพาหะนำโรค โดยมีสัตว์ฟันแทะเป็นแหล่งรังโรคโดยเฉพาะหนูเป็นส่วนใหญ่ มักจะระบาดมากในช่วงฤดูฝนจนถึงต้นฤดูหนาว และพบแทบทุกภาคของประเทศ ดังนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์พิษณุโลก จึงได้ทำการศึกษาความเสี่ยงของการเกิดโรคและการเฝ้าระวังโรคทางห้องปฏิบัติ การ โดยการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อริกเก็ตเซียด้วยวิธี Indirect Immunofluorescence Assay (IFA) จากซีรั่มของผู้ป่วยที่ส่งมาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ตาก น่าน พิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และสุโขทัย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 - พฤษภาคม 2552 จำนวน 318 ราย
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ผลการศึกษาพบผู้ติดเชื้อริกเก็ตเซีย 65 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.44 แยกเป็นสครับไทฟัส 56 ราย มิวรีนไทฟัส 7 ราย และพบติดเชื้อร่วมกันทั้งสครับไทฟัสและมิวรีนไทฟัส 2 ราย โดยจะพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง สำหรับอาการที่สำคัญ ได้แก่ ปวดศีรษะอย่างรุนแรงบริเวณขมับและหน้าผาก ตัวร้อนจัด มีไข้สูง 40-40.5 องศาเซลเซียส หนาวสั่น เพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดกระบอกตา มีอาการไอแห้งๆ ไต ตับ ม้ามโต และผู้ป่วยร้อยละ 30-40 จะพบแผลคล้ายบุหรี่จี้ (eschar) ที่บริเวณที่ถูกไรอ่อนกัด มีสีแดงคล้ำเป็นรอยบุ๋ม ไม่คัน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ โดยผู้ป่วยประมาณร้อยละ 20-50 อาจจะมีอาการแทรกซ้อน ได้แก่ การอักเสบที่ปอด สมอง ในรายที่อาการรุนแรง อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วมาก ความดันโลหิตต่ำ อาจถึงขั้นช็อก เสียชีวิตได้
นพ.มานิต กล่าวด้วยว่า แนวทางในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวนั้นประชาชนควรหมั่นดูแลและทำความ สะอาดบ้านเรือนเพื่อควบคุมและ กำจัดหนู โดยเฉพาะนักเดินทางที่นิยมท่องเที่ยงธรรมชาติ หรือเด็กนักเรียนที่ทำกิจกรรมเข้าค่ายในป่า ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงโดยเฉพาะบริเวณทุ่งหญ้าชายป่า หรือบริเวณที่แสงแดดส่องไม่ถึง ซึ่งเป็นพื้นที่อาศัยของสัตว์พาหะหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรทายากันแมลงกัด หรืออาบน้ำให้สะอาดหลังออกจากป่า พร้อมนำเสื้อผ้าที่สวมใส่มาซักให้สะอาดทันที ทั้งนี้หากพบผู้ป่วยที่มีอาการน่าสงสัยว่าจะเกิดโรค เช่น มีไข้ขึ้นสูงปวดศรีษะ หลังจากกลับจากบริเวณพื้นที่เสี่ยงประมาณ 2 สัปดาห์ ควรรีบปรึกษาแพทย์ และเล่าประวัติการเข้าไปสัมผัสแหล่ง ก่อโรคโดยทันที เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ซึ่งจะช่วยลดอัตราความเสี่ยง และอันตรายจากโรคได้
- กาฬโรค
- โรคเลปโตสไปโรซีส หรือ โรคฉี่หนู
- โรคสครับไทฟัส หรือไข้รากสาด
- โรคทูลารีเมีย หรือโรคไข้กระต่าย
- โรคพยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ปอด พยาธิตัวกลม
กาฬโรค
กาฬโรค (Plague)
สาเหตุเนื่องมาจากเชื้อแบคทีเรียแกรมลบรูปแท่งชื่อ Yersinia pestis ผู้พบเชื้อครั้งแรกปี
พ.ศ. 2437 โดย Yersin & Hitasato เดิมแบคทีเรียสปีชีส์นี้ จัดอยู่ในจีนัส Pasteurella
ในปี พ.ศ. 2487 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Yersinia ตามชื่อผู้พบเชื้อคนแรกและปี พ.ศ.
2497 Thal ได้จัดรวมอยู่ในตระกูล Enterobacteriaceae 2 Yersinia มี 3 สปีชีส์ คือ
Y.pestis , Y.enterocolitica และ Y.pseudotuberculosis.
กาฬโรคเป็นโรคติดต่อที่มีอันตรายร้ายแรงที่สุด เมื่อมีการเกิดโรคนี้ต้องแจ้งความตามพระราชบัญญัติป้องกันโรคติดต่อ พ.ศ.2523 การติดต่อมาสู่คนโดยมีหมัดหนูเป็นพาหะโรค ซึ่งอาศัยอยู่บนหนูที่เป็นโรคโดยหมัดหนูจะกัดคนและปล่อยเชื้อเข้าทางรอยแผล เช่นเดียวกับการติดต่อระหว่างสัตว์กับสัตว์ ทำให้เกิดโรค bubonic plague และคนติดต่อมายังคน ทำให้เกิดโรค pneumonic plague ถ้าเชื้อนี้เข้ากระแสโลหิตจะทำให้เกิดโรค Septicaemic plague
ประวัติ ในอดีตมีการระบาดใหญ่ของกาฬโรคเกิดขึ้น 3 ครั้ง ครั้งแรกในคริสตวรรษที่ 6 เรียกการระบาดครั้งนั้นว่า Plague of justinian การระบาดเริ่มจากประเทศอียิปต์ไปสู่ทวีปยุโรป โดยเฉพาะที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล มีคนตายวันละหมื่นคน มีการระบาดติดต่อกันเป็นระยะเวลาประมาณ 50 ปี มีคนตายหลายล้านคน
การระบาดครั้งที่ 2 ในคริสตวรรษที่ 14 เรียกการระบาดครั้งนั้นว่า The Black Death (กาฬมรณะ) โดยเริ่มต้นจากตอนใต้ของประเทศอินเดียและจีน ผ่านประเทศอียิปต์เข้าสู่ประเทศยุโรป มีการระบาดในอิตาลีเมื่อปี พ.ศ. 1889 เรียกว่า "Great Mortality" และมีการระบาดเป็นระยะตลอดคริสตวรรษที่ 15, 16, 17 ในปี พ.ศ. 2208 เกิดการระบาดใหญ่ที่กรุงลอนดอนมีคนตายเป็นจำนวน 60,000 คน จากประชากร 450,000 คน เรียกว่า The Great Plague of London การระบาดในยุโรป ครั้งนั้นมีประชากรประมาณ 25 ล้านคน ต้องตายด้วยโรคนี้
การระบาดครั้งที่ 3 เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลกปี พ.ศ. 2439 มีการระบาดเข้าสู่สิงค์โปร์ ไทย ฟิลิปปินส์ ฮาไวอี อารเบีย เปอร์เชีย เตอร์กี อียิปต์ และอาฟริกาตะวันตกเข้ารัสเชียและในทวีปยุโรป เข้าสู่อเมริกาเหนือและเม็กซิโก มีรายงานระหว่างปี พ.ศ. 2443-2444 ในภาคตะวันออกของจีนมีคนตายประมาณ 60,000 คน ปี พ.ศ. 2453-2454 ที่แมนจูเลียมีคนตายประมาณ 10,000 คน ต่อมามีรายงานการระบาดที่รัฐแคลิฟอเนียและประเทศรัสเซีย
ประวัติการระบาดในประเทศไทย
นายแพทย์ เอช แคมเบล ไฮเอ็ด เจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาล ( Principal Medical Officer of Bangkok City) ได้รายงานการกาฬโรคครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2447 เกิดขึ้นที่บริเวณตึกแดงและตึกขาว เป็นโกดังเก็บสินค้า จังหวัดธนบุรีเป็นที่อยู่ของพ่อค้าชาวอินเดีย แล้วระบาดเข้ามาฝั่งพระนครจากนั้นกระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ ที่มีการติดต่อค้าขายกับกรุงเทพฯ โดยทางบก ทางเรือและทางรถไฟ ไม่มีสถิติจำนวนผู้ป่วยตายที่แน่นอน รายงานปรากฏก่อนปี พ.ศ. 2456 ที่จังหวัดนครปฐมมีคนตาย 300 คน ครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2495 มีรายงานผู้ป่วย 2 รายตาย 1 ราย ที่ตลาดตาคลี จากนั้นไม่มีรายงานกาฬโรคเกิดขึ้นในประเทศไทยจนปัจจุบันนี้
สถานการณ์กาฬโรคในประเทศอินเดียปี พ.ศ. 2537
ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 มีแผ่นดินไหวที่เมือง Latur และมีหลายพื้นที่ในรัฐมหาราษฎร์มีผู้เสียชีวิตหลายพันคน จากเหตุภัยพิบัติเชื่อว่าเป็นเหตุให้สัตว์ประเภทฟันแทะเข้ามาสู่เขตในเมือง ที่คนอาศัย ทำให้หนูในเขตบ้านติดเชื้อกาฬโรคจากหมัดหนูและติดต่อมายังคน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2537 มีรายงานผู้ป่วยกาฬโรครายแรกในรัฐมหาราษฏร์และระบาดไปตามรัฐต่างๆ จนถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2537 มีรายงานผู้สงสัยจะเป็นกาฬโรคในประเทศอินเดีย รวม 5,656 ราย ในจำนวนนี้มีผู้มีผลการตรวจยืนยันว่าเป็นผู้ป่วยกาฬโรค 258 ราย มีผู้เสียชีวิต 56 ราย รายงานผู้ป่วยและผู้สงสัยว่าป่วยส่วนใหญ่มาจาก 2 รัฐใหญ่ คิดรัฐกุจารัต 1,471 ราย และรัฐมหาราชตระ 2,685 ราย ส่วนในกรุงนิวเดลีมีผู้ป่วย หรือ ผู้สงสัยว่าป่วย 947 ราย ผู้ป่วยกาฬโรคส่วนใหญ่เป็นผู้มี ฐานะยากจนและอาศัยในท้องที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมเจ้าหน้าที่ของ องค์การอนามัยโลก วิเคราะห์ว่าปัญหาการระบาดของกาฬโรคในประเทศอินเดียและผลกระทบต่างๆ ที่ตามมา เป็นผลมาจากความล่าช้า ในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชนและสื่อมวลชน การขาดระบบการดำเนินการ และประสานงานการป้องกันกาฬโรคที่เป็นเอกภาพรวมทั้งขาดประสบการณ์ เกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรค เพราะประเทศอินเดียไม่มีรายงานผู้ป่วยกาฬโรคมามากกว่า 25 ปี นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจการค้าส่งออกของอินเดีย มูลค่ามหาศาลลดลงประมาณ 62,500 ล้านบาท มีสายการบินหลายสายงดการเดินทางเข้าออกจากอินเดีย สาเหตุที่ทำให้นานาชาติต่างเกรงกลัวกาฬโรคมากเพราะ โรคนี้เคยระบาดคร่าชีวิตประชาชนเป็นจำนวนมาก เมื่อกาฬโรคกลับมาระบาดอีกครั้งนานาชาติเกรงว่าเชื้อจะแพร่กระจายมายัง ประเทศของตน จึงใช้มาตรการเข้มงวดในการควบคุมการเดินทางและส่งสินค้าทั้งเข้าและออกจาก อินเดีย เพื่อเป็นการป้องกันเบื้องต้น
การติดต่อของโรค
กาฬโรคเป็นโรคติดต่อที่มีสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู กระแต กระรอกและกระต่าย เป็นพาหะนำโรค สัตว์ที่พบมักเป็นโรคบ่อยได้แก่หนู ประเภท Rattus โดยมีหมัดเป็นพาหะมักเป็นพวก Xenopsylla cheopis ที่พบเกิดการระบาดในคนบ่อยๆ เชื้อสามารถอยู่ในตัวหมัดได้เป็นเดือนขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นและอุณหภูมิ ที่เหมาะสม เมื่อหมัดหนูดูดเลือดจากตัวหนู หรือสัตว์ฟันแทะอื่นๆ ที่มีเชื้อกาฬโรคอยู่ในตัวของสัตว์นั้น เมื่อหมัดหนูมากัดคนจะปล่อยเชื้อเข้าทางบาดแผล เช่นเดียวกับการติดต่อระหว่างสัตว์กับสัตว์ เชื้อเข้าทางผิวหนังที่ถลอกจากการเกาบริเวณที่ถูกหมัดหนูกัดการติดต่อ ระหว่างคนกับคนอาจเกิดได้โดยหมัดในคน (Pulax irritans) มากัดคนจะปล่อยเชื้อเข้าทางบาดแผล การติดต่ออีกทางหนึ่งโดยการหายใจเอาละอองเสมหะของผู้ป่วย pneumonic plague หรือจากสัตว์เลี้ยงที่มีเชื้อโรคเช่น แมว แล้วหายใจเอาเชื้อเข้าไปทางปาก จมูก เสมหะ ไอ จาม เป็นต้น การทำให้เกิดอาการในคนเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายและไปยังต่อมน้ำเหลืองทำให้ เกิดการอักเสบบวม ตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุดคือ บริเวณขาหนีบ (inguinal) รองลงมาคือรักแร้ ระยะฟักตัวของกาฬโรคโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 2-6 วัน ระยะฟักตัวของ primary plague pneumonia อยู่ระหว่าง 1-6 วัน อาการของโรคเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโตและปวดมากอาการนี้เรียกว่า bubonic plague ผิวหนังบริเวณต่อมน้ำเหลืองจะบวมแดง อาจจะมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ระยะต่อมาเชื้อจะแพร่กระจายไปตามกระแสโลหิต เข้าสู่ปอด ตับ ม้าม และบางรายไปยังเยื่อหุ้มสมอง เกิดภาวะเชื้อเข้ากระแสโลหิตรุนแรง (Septicaemic plague) จะเกิดอาการหัวใจวายและตายในที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว การติดต่อระหว่างคนกับคนโดยการไอ จาม ผู้ได้รับเชื้อ ทางระบบหายใจจะเกิดโรคปอดบวมเรียกว่า pneumonic plague จะพบเกิดโรคในกลุ่มประชากรที่อยู่กับแออัดในช่วงฤดูหนาว
การป้องกันและควบคุม
สำรวจหนูที่อยู่อาศัยในบริเวณบ้านและกำจัดดังนี้ ควรกำจัดหนูก่อนโดยใช้สารเคมีประเภท carbamate โรยไว้ตรงทางเดินของหนูและจากนั้นในวันรุ่งขึ้น จึงทำการดักหนูและเบื่อหนู เมื่อดักหนูได้แล้วให้ฉีดยาฆ่าแมลงประจำบ้านฉีดพ่นไปบนตัวหนูก่อนเพื่อทำลาย หมัดหนูที่ยังคงเหลือและจากนั้นจึงฆ่าหนู การแพร่เชื้อระหว่างประเทศได้ 3 ทาง ทางอากาศ โดยผ่านทางสายการบินต่างๆ ทางบก โดยการเดินทางเข้าสู่ทางชายแดนของประเทศ และทางเรือโดยสาร คน หมัดหนู นำเชื้อโรคเข้ามากับการเดินทางนี้ ดังนั้นควรมีมาตรการควบคุม และเฝ้าระวังกาฬโรค เพื่อป้องกันการระบาดและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อกาฬโรคอย่างเคร่งครัด การกำจัดขยะมูลฝอยเป็นแหลังสะสมหนูและให้สุขศึกษาแก่ประชาชนเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อมิให้อาหารเป็นแหล่งเพาะพันธุ์หนู ในกลุ่มเสี่ยงควรให้ความรู้วิธีป้องกันโรคและเข้ารับการตรวจรักษาโดยเร็วถ้า มีอาการสงสัยว่าป่วยเป็นกาฬโรค
การให้วัคซีนที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา เป็นชนิด inactivated plague vaccine U.S.P โดย Cutter Laboratories Burkeley California ในประเทศอื่นที่มีการผลิตบ้าง เช่น ประเทศสวิสเซอร์แลนด์และญี่ปุ่น ในช่วงของการระบาดในประเทศอินเดีย ปี พ.ศ. 2537 P.Michel และคณะ กำลังวิจัย ใช้ Yersinia Outer Protein (YOP) เพื่อผลวัคซีน
การรักษา
ผู้ป่วยกาฬโรคต้องรักษาโดยแยกห้อง (isolation) เพื่อมิให้เชื้อแพร่กระจายเชื้อนี้ความไวต่อ Tetracyline, Streptomycin, Chloramphenical, Kanamycin และ Sulfonamides ส่วนยากลุ่ม Penicillin มักใช้ไม่ได้ผลดีและการรักษาโรคแทรกซ้อนมีความจำเป็น บุคลากรที่ทำการรักษาต้องมีความระมัดระวังอย่างเคร่งครัดด้านการป้องกันการติดเชื้อ โดยสวมถุงมือปิดปากและจมูกควรทำลายเชื้อจากเลือด น้ำเหลืองและหนองของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อ
กาฬโรคเป็นโรคติดต่อที่มีอันตรายร้ายแรงที่สุด เมื่อมีการเกิดโรคนี้ต้องแจ้งความตามพระราชบัญญัติป้องกันโรคติดต่อ พ.ศ.2523 การติดต่อมาสู่คนโดยมีหมัดหนูเป็นพาหะโรค ซึ่งอาศัยอยู่บนหนูที่เป็นโรคโดยหมัดหนูจะกัดคนและปล่อยเชื้อเข้าทางรอยแผล เช่นเดียวกับการติดต่อระหว่างสัตว์กับสัตว์ ทำให้เกิดโรค bubonic plague และคนติดต่อมายังคน ทำให้เกิดโรค pneumonic plague ถ้าเชื้อนี้เข้ากระแสโลหิตจะทำให้เกิดโรค Septicaemic plague
ประวัติ ในอดีตมีการระบาดใหญ่ของกาฬโรคเกิดขึ้น 3 ครั้ง ครั้งแรกในคริสตวรรษที่ 6 เรียกการระบาดครั้งนั้นว่า Plague of justinian การระบาดเริ่มจากประเทศอียิปต์ไปสู่ทวีปยุโรป โดยเฉพาะที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล มีคนตายวันละหมื่นคน มีการระบาดติดต่อกันเป็นระยะเวลาประมาณ 50 ปี มีคนตายหลายล้านคน
การระบาดครั้งที่ 2 ในคริสตวรรษที่ 14 เรียกการระบาดครั้งนั้นว่า The Black Death (กาฬมรณะ) โดยเริ่มต้นจากตอนใต้ของประเทศอินเดียและจีน ผ่านประเทศอียิปต์เข้าสู่ประเทศยุโรป มีการระบาดในอิตาลีเมื่อปี พ.ศ. 1889 เรียกว่า "Great Mortality" และมีการระบาดเป็นระยะตลอดคริสตวรรษที่ 15, 16, 17 ในปี พ.ศ. 2208 เกิดการระบาดใหญ่ที่กรุงลอนดอนมีคนตายเป็นจำนวน 60,000 คน จากประชากร 450,000 คน เรียกว่า The Great Plague of London การระบาดในยุโรป ครั้งนั้นมีประชากรประมาณ 25 ล้านคน ต้องตายด้วยโรคนี้
การระบาดครั้งที่ 3 เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลกปี พ.ศ. 2439 มีการระบาดเข้าสู่สิงค์โปร์ ไทย ฟิลิปปินส์ ฮาไวอี อารเบีย เปอร์เชีย เตอร์กี อียิปต์ และอาฟริกาตะวันตกเข้ารัสเชียและในทวีปยุโรป เข้าสู่อเมริกาเหนือและเม็กซิโก มีรายงานระหว่างปี พ.ศ. 2443-2444 ในภาคตะวันออกของจีนมีคนตายประมาณ 60,000 คน ปี พ.ศ. 2453-2454 ที่แมนจูเลียมีคนตายประมาณ 10,000 คน ต่อมามีรายงานการระบาดที่รัฐแคลิฟอเนียและประเทศรัสเซีย
ประวัติการระบาดในประเทศไทย
นายแพทย์ เอช แคมเบล ไฮเอ็ด เจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาล ( Principal Medical Officer of Bangkok City) ได้รายงานการกาฬโรคครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2447 เกิดขึ้นที่บริเวณตึกแดงและตึกขาว เป็นโกดังเก็บสินค้า จังหวัดธนบุรีเป็นที่อยู่ของพ่อค้าชาวอินเดีย แล้วระบาดเข้ามาฝั่งพระนครจากนั้นกระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ ที่มีการติดต่อค้าขายกับกรุงเทพฯ โดยทางบก ทางเรือและทางรถไฟ ไม่มีสถิติจำนวนผู้ป่วยตายที่แน่นอน รายงานปรากฏก่อนปี พ.ศ. 2456 ที่จังหวัดนครปฐมมีคนตาย 300 คน ครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2495 มีรายงานผู้ป่วย 2 รายตาย 1 ราย ที่ตลาดตาคลี จากนั้นไม่มีรายงานกาฬโรคเกิดขึ้นในประเทศไทยจนปัจจุบันนี้
สถานการณ์กาฬโรคในประเทศอินเดียปี พ.ศ. 2537
ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 มีแผ่นดินไหวที่เมือง Latur และมีหลายพื้นที่ในรัฐมหาราษฎร์มีผู้เสียชีวิตหลายพันคน จากเหตุภัยพิบัติเชื่อว่าเป็นเหตุให้สัตว์ประเภทฟันแทะเข้ามาสู่เขตในเมือง ที่คนอาศัย ทำให้หนูในเขตบ้านติดเชื้อกาฬโรคจากหมัดหนูและติดต่อมายังคน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2537 มีรายงานผู้ป่วยกาฬโรครายแรกในรัฐมหาราษฏร์และระบาดไปตามรัฐต่างๆ จนถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2537 มีรายงานผู้สงสัยจะเป็นกาฬโรคในประเทศอินเดีย รวม 5,656 ราย ในจำนวนนี้มีผู้มีผลการตรวจยืนยันว่าเป็นผู้ป่วยกาฬโรค 258 ราย มีผู้เสียชีวิต 56 ราย รายงานผู้ป่วยและผู้สงสัยว่าป่วยส่วนใหญ่มาจาก 2 รัฐใหญ่ คิดรัฐกุจารัต 1,471 ราย และรัฐมหาราชตระ 2,685 ราย ส่วนในกรุงนิวเดลีมีผู้ป่วย หรือ ผู้สงสัยว่าป่วย 947 ราย ผู้ป่วยกาฬโรคส่วนใหญ่เป็นผู้มี ฐานะยากจนและอาศัยในท้องที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมเจ้าหน้าที่ของ องค์การอนามัยโลก วิเคราะห์ว่าปัญหาการระบาดของกาฬโรคในประเทศอินเดียและผลกระทบต่างๆ ที่ตามมา เป็นผลมาจากความล่าช้า ในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชนและสื่อมวลชน การขาดระบบการดำเนินการ และประสานงานการป้องกันกาฬโรคที่เป็นเอกภาพรวมทั้งขาดประสบการณ์ เกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรค เพราะประเทศอินเดียไม่มีรายงานผู้ป่วยกาฬโรคมามากกว่า 25 ปี นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจการค้าส่งออกของอินเดีย มูลค่ามหาศาลลดลงประมาณ 62,500 ล้านบาท มีสายการบินหลายสายงดการเดินทางเข้าออกจากอินเดีย สาเหตุที่ทำให้นานาชาติต่างเกรงกลัวกาฬโรคมากเพราะ โรคนี้เคยระบาดคร่าชีวิตประชาชนเป็นจำนวนมาก เมื่อกาฬโรคกลับมาระบาดอีกครั้งนานาชาติเกรงว่าเชื้อจะแพร่กระจายมายัง ประเทศของตน จึงใช้มาตรการเข้มงวดในการควบคุมการเดินทางและส่งสินค้าทั้งเข้าและออกจาก อินเดีย เพื่อเป็นการป้องกันเบื้องต้น
การติดต่อของโรค
กาฬโรคเป็นโรคติดต่อที่มีสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู กระแต กระรอกและกระต่าย เป็นพาหะนำโรค สัตว์ที่พบมักเป็นโรคบ่อยได้แก่หนู ประเภท Rattus โดยมีหมัดเป็นพาหะมักเป็นพวก Xenopsylla cheopis ที่พบเกิดการระบาดในคนบ่อยๆ เชื้อสามารถอยู่ในตัวหมัดได้เป็นเดือนขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นและอุณหภูมิ ที่เหมาะสม เมื่อหมัดหนูดูดเลือดจากตัวหนู หรือสัตว์ฟันแทะอื่นๆ ที่มีเชื้อกาฬโรคอยู่ในตัวของสัตว์นั้น เมื่อหมัดหนูมากัดคนจะปล่อยเชื้อเข้าทางบาดแผล เช่นเดียวกับการติดต่อระหว่างสัตว์กับสัตว์ เชื้อเข้าทางผิวหนังที่ถลอกจากการเกาบริเวณที่ถูกหมัดหนูกัดการติดต่อ ระหว่างคนกับคนอาจเกิดได้โดยหมัดในคน (Pulax irritans) มากัดคนจะปล่อยเชื้อเข้าทางบาดแผล การติดต่ออีกทางหนึ่งโดยการหายใจเอาละอองเสมหะของผู้ป่วย pneumonic plague หรือจากสัตว์เลี้ยงที่มีเชื้อโรคเช่น แมว แล้วหายใจเอาเชื้อเข้าไปทางปาก จมูก เสมหะ ไอ จาม เป็นต้น การทำให้เกิดอาการในคนเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายและไปยังต่อมน้ำเหลืองทำให้ เกิดการอักเสบบวม ตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุดคือ บริเวณขาหนีบ (inguinal) รองลงมาคือรักแร้ ระยะฟักตัวของกาฬโรคโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 2-6 วัน ระยะฟักตัวของ primary plague pneumonia อยู่ระหว่าง 1-6 วัน อาการของโรคเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโตและปวดมากอาการนี้เรียกว่า bubonic plague ผิวหนังบริเวณต่อมน้ำเหลืองจะบวมแดง อาจจะมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ระยะต่อมาเชื้อจะแพร่กระจายไปตามกระแสโลหิต เข้าสู่ปอด ตับ ม้าม และบางรายไปยังเยื่อหุ้มสมอง เกิดภาวะเชื้อเข้ากระแสโลหิตรุนแรง (Septicaemic plague) จะเกิดอาการหัวใจวายและตายในที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว การติดต่อระหว่างคนกับคนโดยการไอ จาม ผู้ได้รับเชื้อ ทางระบบหายใจจะเกิดโรคปอดบวมเรียกว่า pneumonic plague จะพบเกิดโรคในกลุ่มประชากรที่อยู่กับแออัดในช่วงฤดูหนาว
การป้องกันและควบคุม
สำรวจหนูที่อยู่อาศัยในบริเวณบ้านและกำจัดดังนี้ ควรกำจัดหนูก่อนโดยใช้สารเคมีประเภท carbamate โรยไว้ตรงทางเดินของหนูและจากนั้นในวันรุ่งขึ้น จึงทำการดักหนูและเบื่อหนู เมื่อดักหนูได้แล้วให้ฉีดยาฆ่าแมลงประจำบ้านฉีดพ่นไปบนตัวหนูก่อนเพื่อทำลาย หมัดหนูที่ยังคงเหลือและจากนั้นจึงฆ่าหนู การแพร่เชื้อระหว่างประเทศได้ 3 ทาง ทางอากาศ โดยผ่านทางสายการบินต่างๆ ทางบก โดยการเดินทางเข้าสู่ทางชายแดนของประเทศ และทางเรือโดยสาร คน หมัดหนู นำเชื้อโรคเข้ามากับการเดินทางนี้ ดังนั้นควรมีมาตรการควบคุม และเฝ้าระวังกาฬโรค เพื่อป้องกันการระบาดและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อกาฬโรคอย่างเคร่งครัด การกำจัดขยะมูลฝอยเป็นแหลังสะสมหนูและให้สุขศึกษาแก่ประชาชนเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อมิให้อาหารเป็นแหล่งเพาะพันธุ์หนู ในกลุ่มเสี่ยงควรให้ความรู้วิธีป้องกันโรคและเข้ารับการตรวจรักษาโดยเร็วถ้า มีอาการสงสัยว่าป่วยเป็นกาฬโรค
การให้วัคซีนที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา เป็นชนิด inactivated plague vaccine U.S.P โดย Cutter Laboratories Burkeley California ในประเทศอื่นที่มีการผลิตบ้าง เช่น ประเทศสวิสเซอร์แลนด์และญี่ปุ่น ในช่วงของการระบาดในประเทศอินเดีย ปี พ.ศ. 2537 P.Michel และคณะ กำลังวิจัย ใช้ Yersinia Outer Protein (YOP) เพื่อผลวัคซีน
การรักษา
ผู้ป่วยกาฬโรคต้องรักษาโดยแยกห้อง (isolation) เพื่อมิให้เชื้อแพร่กระจายเชื้อนี้ความไวต่อ Tetracyline, Streptomycin, Chloramphenical, Kanamycin และ Sulfonamides ส่วนยากลุ่ม Penicillin มักใช้ไม่ได้ผลดีและการรักษาโรคแทรกซ้อนมีความจำเป็น บุคลากรที่ทำการรักษาต้องมีความระมัดระวังอย่างเคร่งครัดด้านการป้องกันการติดเชื้อ โดยสวมถุงมือปิดปากและจมูกควรทำลายเชื้อจากเลือด น้ำเหลืองและหนองของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อ